วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเภทของงานประติมากรรม

ประเภทของงานประติมากรรม


ประเภทของงานประติมากรรม

1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด  


2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ


3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ
   
   

   

ประติมากรรม

 

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ (ภาพแกะสลัก) ที่ปราสาทนครวัด


ผลงานประติมากรรมนูนสูง ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส


ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส

             ประติมากรรม (อังกฤษsculpture) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร


งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร

งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่
  • ประติมากรรมนูนต่ำ
  • ประติมากรรมนูนสูง
  • ประติมากรรมลอยตัว
              นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมโมบาย ที่แขวนลอยและเคลื่อนไหวได้ และประติมากรรมติดตั้งชั่วคราวกลางแจ้ง (Installation Art) ที่เรียกว่าศิลปะจัดวาง
              1. ประติมากรรมลอยตัว ( Round - Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น
              2. ประติมากรรมประเภทนูนสูง ( High – Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น
              3. ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ ( Bas – Relief ) ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย



แบบทดสอบ เรื่องประติมากรรม

แบบทดสอบ เรื่องประติมากรรม

1. ข้อใดคือความหมายของงานปั้น
 การปั้นดิน 
 การปั้น นูนสูง นูนต่ำ ลอยตัว 
 การแกะ การบีบ การขูด
 การปั้นวัสดุอ่อนที่รวมตัวกันได้ มาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ


2. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของงานปั้น
 นูนสูง 
 นูนเรียบ
 นูนต่ำ 
 ลอยตัว 


3. ข้อใดคือลักษณะของการปั้นนูนต่ำ
 เหรียญพระ 
 เหรียญบาท 
 เหรียญรูปรัชกาลต่าง ๆ 
 ถูกทุกข้อ


4.ข้อใดคือลักษณะงานปั้นนูนสูง
 รูปประดับฝาผนัง
 รูปวาด 2 มิติ
 เหรียญพระต่าง ๆ 
 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 


5. ข้อใดไม่ใช่วัสดงานปั้นที่ี่มนุษย์สร้างขึ้น
 ดินน้ำมัน
 ดินเหนียว 
 แป้งสาลี 
 กาวน้ำ 


6.ข้อใดคือลักษณะที่มีลักษณะ หนืด  เหนียว  ไม่แข็งตัวปั้นง่ายไม่ติดมือ  สะดวกในการเก็บ 
 ดินเหนียว 
 ดินร่วน 
 แป้งสาลี
 ดินน้ำมัน 


7. รูปปั้นท้าวย่าโม เป็นงานปั้นประเภทใด 
 นูนสูง 
 นูนต่ำ 
 การหล่อ
 ลอยตัว.


8. เมื่อเราปั้นด้วยวัสดุดินเหนียว เราจะเก็บรักษาอย่างไร ไม่ให้ดินแข็ง 
 ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมไว้
 พรมน้ำตลอดเวลา 
 ปั้นให้เสร็จก่อนดินแห้ง
 ปล่อยทิ้งไว้ เมื่อก็เอาน้ำมาพรม 


9. วิธีการอย่างง่าย ในการทำให้ดินน้ำมันที่แข็ง กลับมาอ่อนเหมือนเดิมคือข้อใด 
 ตากแดด 
 แช่น้ำอุ่น 
 เผาไฟ
 นวดไปนวดมา


10. เราเรียกผู้ที่สร้างงานปั้นว่าอะไร
 จิตรกร
 นักปั้น 
 ประติมากรรม 
 ประติมากร 


ประติมากรรม

ประติมากรรม


ประติมากรรม (อังกฤษSculpture) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร
งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร


   เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

     1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น



  
     2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

    
3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)




  
     4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่าประติมากร





ประเภทของงานประติมากรรม

ประเภทของงานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่
  1. ประติมากรรมนูนต่ำ ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น
  2. ประติมากรรมนูนสูง ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น และ ลอยและบินได้
  3. ประติมากรรมลอยตัว ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น
ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบ

ประติมากรรมนูนต่ํา


ประติมากรรมนูนสูง


ประติมากรรมนูนลอยตัว





ตัวอย่างประติมากรรมของภาคใต้


ตัวอย่างประติมากรรมของภาคใต้

ประติมากรรม ตามสี่แยกไฟแดงในตัวเมืองจังหวัดกระบี่

กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารักประติมากรรมให้ดูเพลินๆ  แต่ละแยกสื่อถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจังหวัดกระบี่ทั้งนั้น

แยกมนุษย์โบราณ
 
เริ่มกันที่แยกแรก แยกมนุษย์โบราณ  มีที่มาจากการขุดพบฟอสซิลกรามบน กรามล่าง และฟันที่คาดว่าเป็นของบรรพบุรูษของพวกเราอายุหลายสิบล้านปี มีชื่อว่าคุณ "สยามโมพิเทคัส อีโอซีนัส" แล้วก็ยังมีการพบโครงกระดูกมนุษย์อายุกว่าสี่หมื่นปี คาดว่าเป็น แหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย
แยกนี้ตั้งอยู่ที่สี่แยกใจกลางเมืองกระบี่..เรียกว่า "สี่แยกมนุษย์โบราณ" 



แยกช้างชูกระบี่
แยกที่สอง แยกช้างชูกระบี่ รู้ไหมว่าแต่ก่อนกระบี่มีช้างป่ามากที่สุดในประเทศไทยเลยนะคะ ทำให้มีการตั้งเพนียดคล้องช้างขึ้นจนเกิดเป็นเมืองกระบี่ขึ้นมาในสมัยรัชกาล ที่ 5 และชาวกระบี่ก็ได้มีโอกาสถวายช้างเผือกเชือกแรกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวด้วยค่ะ นามว่า "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ"
แยกนี้อยู่หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองกระบี่ครับ  เป็นสัญญลักษณ์ของเทศบาลเมืองกระบี่

แยกเสือเขี้ยวดาบ
มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของเสือเขี้ยวดาบ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 40-35 ล้านปี เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่แอ่งกระบี่ การสร้างประติมากรรมเพื่อสื่อให้เห็นว่าพื้นที่ในเขตเมืองกระบี่นั้นมีเสือโคร่งเสือดำอยู่เป็นจำนวนมากเมื่อ 60 ปีก่อน 
แยกนี้อยู่บริเวณทางเข้าตลาดสดมหาราช



แยกนกออก
 แยกนกออก นกออกเป็นนกในตระกูลเหยี่ยวชนิดหนึ่ง ที่หากินอยู่แถวแม่น้ำกระบี่ ถ้าจะพูดให้ทันสมัยนกออกต้องถือเป็นไอดอลของคนกระบี่ เพราะ "บินสูง มองไกล ใจแน่วแน่ และรักสันโดษ" อัน ว่าเมืองกระบี่นี้มี "นกออก" หรือนกอินทรีทะเลท้องขาว ดังนั้นจึงได้มีการปั้นรูปนกอินทรีตัวใหญ่อีกหนึ่งตัวไว้ ณ กิโลเมตรที่ศูนย์





หลักกิโลเมตรที่ ๐ มีนกออกอีกตัวหนึ่ง กางปีกต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่หน้าเขาขนาบน้ำสัญลักษณ์สำคัญของ จ.กระบี่
เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ที่ว่า คนกระบี่ "บินให้สูง มองให้ไกล ไปให้ถึง" และด้านหน้าตรงข้ามกับประติมากรรมนกออก คือจุดชมวิว "เขาขนาบน้ำ" สัญลักษณ์สำคัญของเมืองกระบี่ สามารถนั่งเรือออกไปเที่ยวได้ ไปปีนบันไดชมถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย ใกล้ๆ กันก็มีสวนสาธารณะสวยๆ และบรรยากาศงามๆ เขียวๆ ของป่าชายเลน ถ้าได้เยือนกระบี่อย่าลืมไปนั่งอ้อยอิ่งที่ริมแม่น้ำกระบี่




นอกจากนั้นก้อยังมีประติมากรรมปูดำที่ทำจากทองเหลืองขนาดใหญ่ตั้งเด่น ตระหง่านอยู่คู่กับเขาขนาบน้ำสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่อยู่ที่ริมแม่น้ำ กระบี่ที่เป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรณ์ทางธรรมชาติไว้ให้คุณๆได้ ไปยืนแอคชั่นโพสต์ท่าถ่ายรูปกลับมาเป็นที่ระลึกการไปเยือนจังหวัดกระบี




      อย่าลืมหาโอกาสมาเยี่ยมเยือน จังหวัดกระบี่ สักครั้ง
แล้วคุณจะประทับใจและอยู่ในความทรงจำไม่ลืมเลือน



                                                                                                           
                                     









ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก ฯลฯ
ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย
สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ (ศิลปะประเภทนี้จะเรียกว่า ปฏิมากรรม) ตุ๊กตาภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

ศิลปะศรีวิชัย


เทวรูปสมัยศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน

ศิลปะลพบุรี


ศิลปะลพบุรี
ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอมแต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ

ศิลปะสุโขทัย

Buddha sukhothaistylb.jpg
พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นราชธานีที่มีความชัดเจนเป็นครั้งแรกของชนเผ่าไทยสยาม ศิลปะสุโขทัยจึง นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย แต่ไม่ใช่แรกสุดเพราะก่อนหน้านั้นมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยมาก คือ ศิลปะเชียงแสน ริมแม่น้ำโขงในแถบจังหวัดเชียงราย ศิลปะสุโขทัยผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม พระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง อุดมคติของพระพุทธรูปสุโขทัยเกิดจากต้นแบบศิลปะที่ส่งอิทธิพลต่อช่างสมัยนั้นด้วย คือ อิทธิพลศิลปะจากศรีลังกาและอินเดีย ลักษณะ สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงาม ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับ พระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลา รูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมี งานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่อง ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น ดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มี ผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออก ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

ศิลปะเชียงแสน

Buddha chiangsaenstyle.jpg
เมื่อแคว้นล้านนาในภาคเหนือได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นนครหลวงเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ หลังจากได้รวมเอาแคว้นหริภุญไชยเข้าไว้ด้วยแล้ว   ได้มีการสร้างสรรค์ศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเดิมเรียกว่า“ศิลปะเชียงแสน” ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “ศิลปะล้านนา”   อันหมายถึงรูปแบบศิลปะที่กระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่จังหวัดตาก  แพร่ น่าน ขึ้นไป
          ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่๒๒ เป็นต้นมา ล้านนาพบกับการแตกแยกภายในการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง   ภัยจากภายนอกที่เข้ามาแทรกแซงทั้งจากพม่ากรุงศรีอยุธยาและล้านช้าง ทำให้อำนาจอิสระที่คงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแคว้นล้านนาล่มสลายลง ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน    ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสนเป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสนวัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมที่ทั้งปูนปั้นและโลหะต่างๆที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น2 ยุค เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วนพระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระห นุเป็นปมพระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำบัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้าและภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้นพระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดพระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯพระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด

ศิลปะอู่ทอง


อาณาจักรอู่ทอง
 เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำ เป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัยพุทธศตวรรษที่ 17 - 20

ศิลปะรัตนโกสินทร์

พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประ พาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบ ประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย แบบร่วมสมัย ในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความ เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์


ศิลปะศรีวิชัย


ศิลปะลพบุรี






ศิลปะสุโขทัย



ศิลปะเชียงแสน





ศิลปะอู่ทอง




ศิลปะรัตนโกสินทร์